รักษากระดูกสันหลัง
ปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูก Spinal Disc Herniation
ข้อมูลทั่วไป
รักษากระดูกสันหลัง
ปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง | Back Pain, Spinal Disc Herniation
หมอนรองกระดูกสันหลัง
(Intervertebral disc) ของมนุษย์นั้น มีลักษณะเป็นรูปทรงสั้นๆ
มีความสูงประมาณ 1 ใน 4 ของความยาวของข้อกระดูกสันหลัง (ประมาณ 6-8 มม.)
องค์ประกอบแบ่งเป็น 3 ชุด คือ
* ส่วนที่อยู่บริเวณศูนย์กลาง
จะมีลักษณะอ่อนนุ่ม คล้ายกับเจลลี่
* ส่วนที่อยู่โดยรอบ
มีลักษณะเป็นพังผืด ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นอยู่บ้าง
* ส่วนที่ยึดติดกับข้อกระดูกสันหลัง
จะ มีลักษณะคล้ายกระดูกอ่อนโครงสร้างทั้ง 3 ส่วนนี้
มีน้ำเป็นส่วนประกอบเป็นส่วนใหญ่
ทั้งนี้หมอนรองกระดูกสันหลังทำหน้าที่ช่วยรับแรงที่เกิดขึ้น
และช่วยในการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง
อาการปวดหลัง
(Back pain) จากโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง
พบได้บ่อยทั้งเพศหญิง เพศชาย พบมากในช่วงอายุ 20-40 ปี
พบบ่อยที่กระดูกสันหลังส่วนระดับเอวล่างๆ (Low back) ทั้งนี้เนื่องจากเป็นกระดูกสันหลังส่วนที่มีการเคลื่อนไหวมาก
และต้องรับน้ำหนักมากที่สุด จึงเกิดอาการเสื่อม
หรือแตกปริ้นของหมอนรองกระดูกได้บ่อยกว่ากระดูกสันหลังในระดับอื่นๆ
อาการปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเกิดขึ้นอย่างไร?
เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลง
ต่อโครงสร้าง หมอนรองกระดูกสันหลัง ทั้ง 3 ส่วน โดยส่วนที่มีปริมาณของน้ำลดลง
และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี
ส่งผลให้ความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลังลดลงความสามารถในการรับแรงกระแทกลดลง
มีการฉีกขาดของเนื้อเยื้อ พังผืดที่อยู่โดยรอบทั้งในแนวเส้นรอบวง
และตามแนวรัศมีที่ทำให้ส่วนท่อยู่ใจกลางแตกปลิ้นออกมาตามรอยฉีกขาดของส่วนที่เป็นพังผืดได้
ซึ่งหมอนรองกระดูกสันหลังที่ปลิ้นออกมานี้ จะไปรบกวนหรือกดเบียดทับเส้นประสาท
ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลัง ปวดสะโพกร้าวลงขา
อะไรคือปัจจัยเสี่ยงของปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง?
ปัจจัยหลายประการที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมได้แก่
1. อายุที่สูงขึ้น
2.
พันธุกรรม
3. การขาดสารอาหาร
4. การสูบบุหรี่
5. โรคเบาหวาน
6. แรงกระทำต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง
7. ปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลังมีอาการอย่างไร
โดยปกติผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหลังนำมาก่อน
อาจมีประวัติหกล้ม หรือยกของหนัก
ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดสะโพกร้าวลงไปด้านหลังของต้นขา น่องจนถึงหลังเท้า หรือฝ่าเท้า
ในขณะยืนก้มหลัง ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาการปวดเพิ่มขึ้นเวลาไอ หรือจาม
หรือยกของหนัก นั่ง หรือยืนนานไม่ได้เพราะอาการปวด
ท่าเดินผิดปกติ
บางรายจะมีอาการชาที่ขา และ/หรือ เท้าและ/ หรือกล้ามเนื้อขาและ/ หรือเท่าอ่อนแรง
ถ้ามีอาการรุนแรง จะควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ และอุจจาระลำบาก
เมื่อปวดหลัง
จะมีวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้นอย่างไร?
การรักษากระดูกสันหลังเบื้องต้นของการปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง
ที่สำคัญได้แก่
1.
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด
ได้แก่ การนั่ง หรือการยืน ติดต่อกันเป็นเวลานาน
2.
งดเว้นกิจกรรมหรือเล่นกีฬา
ที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อหลังมากๆ เช่น ก้มหลัง หรือยกของ
3.
กินแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamaol)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น